พระเครื่อง มณเฑียร
 ร้าน  ชวนชมพระเครื่อง
 
 พระเครื่อง  มณเฑียร หน้าพระมณเฑียร      พระเครื่อง  มณเฑียร หน้าร้าน    พระเครื่อง  มณเฑียร การรับประกัน / การชําระเงิน     พระเครื่อง  มณเฑียร รายละเอียดของร้าน

ตะกรุดไม้ครู รักมันส์ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก นครปฐม สวยสวย



พระเครื่อง ตะกรุดไม้ครู รักมันส์ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก นครปฐม สวยสวย

พระเครื่อง ตะกรุดไม้ครู รักมันส์ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก นครปฐม สวยสวย



รหัสพระเครื่อง   MT107207
ชื่อพระเครื่อง   ตะกรุดไม้ครู รักมันส์ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก นครปฐม สวยสวย
ราคา      ขายแล้ว 
รายละเอียด    ตะกรุดไม้ครู หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก นครปฐม ยุคต้น สภาพสวยเดิมๆด้านในเป็นไม่ไผ่จารยันต์ ฝังกระดาษสาจารยันต์ อุดด้วยผง ถักเชือกป่าน ลงรักดำอมแดง ตัวจริงแท้ดูง่าย มันมากๆ พุทธคุณเด่นด้าน แคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี กันคุณไสย์ เสนียจจัญไรและภยันตรายปั้งปวง ประสบการณ์มากมายครับ...........ประวัติ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ตำบลมาบแค จังหวัดนครปฐม ตามประวัติกล่าวเอาไว้ว่า บรรพบุรุษได้อพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นชาวเวียงจันทร์ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ราชบุรี แต่บางกระแสก็กล่าวว่าบรรพบุรุษของท่านมีเชื้อสายเป็นชาวมอญ ท่านถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๖ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่ออายุได้ ๖ ขวบ บิดามารดา ได้นำไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์วัด อยู่วัดโพธาราม เพื่อศึกษาเล่าเรียนอักษรขอม ตามประเพณีไทยแต่โบราณ เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ตรงกับปี พ.ศ.๒๓๘๑ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ.วัดโพธาราม โดยมีหลวงพ่อทาน เป็นเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น จนกระทั่งมีอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๖ ที่วัดบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี วัดบ้านฆ้อง ในอดีตเคยเป็นสำนักปฏิบัติธรรมและพระกัมมัฏฐาน ที่มีชื่อเสียงมาก สำนักแห่งนี้แล้วถือว่าไม่ธรรมดา แม้ลาสิกขาบทออกไป ก็จะได้รับการยกย่องเชิดชู มีชื่อเสียงและได้รับการเคารพนับถือจากบุคคลโดยทั่วไป ภายหลังจากที่ท่านได้อุปสมบทแล้วท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี และภาษาขอม จนเป็นที่แตกฉาน จึงได้หันมาศึกษาและฝึกปฏิบัติพระวิปัสสนากัมมัฏฐาน อีกทั้งยังศึกษาทางด้านพุทธาอาคมต่าง ๆ จนชำนาญและเชี่ยวชาญ จึงออกเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ หาสถานที่สงในการปฏิบัติธรรม ฝึกจิตให้เป็นสมาธิ เพื่อให้พ้นบ่วงแห่งอาสวะกิเลสทั้งปวง สถานที่ต่าง ๆ ที่ท่านได้เดินธุดงค์ผ่านไปนั้นมีหลายที่เช่น ไปเมืองสระบุรี เพื่อกราบนมัสการรอยพระพุทธบาท ไปเมืองพิษณุโลก เพื่อกราบนมัสการพระพุทธชินราช และไปในแถบภาคอีสาน ข้ามไปยังฝั่งเขมร เมื่อกลับเข้ามาแล้วจึงวกไปภาคตะวันตก สู่จังหวัดกาญจนบุรีผ่านไปยังพม่า แวะกราบนมัสการพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง กาลเวลาได้ล่วงเลยมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี ที่หลวงพ่อทาได้ธุดงค์จาริกแสวงบุญไปที่ต่าง ๆ ใช้ชีวิตอยู่ในป่า ฝึกฝนสมาธิทางจิต ด้วยการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรอย่างจริงจัง ในระหว่างนั้นเมื่อท่านได้มีโอกาสพบปะกับพระคณาจารย์ผู้เรืองเวทย์วิทยาคม ก็จะขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอศึกษาสรรพวิชาต่าง ๆ อยู่เสมอไม่เคยขาด ทำให้ท่านมีความชำนาญในศาสตร์หลายแขนง จนเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๑๗ ขณะนั้นมีอายุได้ ๕๑ ปี ท่านได้ธุดงค์ผ่านมาทางตำบลพะเนียงแตก ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นตำบลมาบแค ซึ่งในตำบลนี้มีวัดเล็ก ๆ ซึ่งหลวงปู่สุขเป็นผู้สร้าง ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นป่านอกเมือง เมื่อท่านเห็นว่าเป็นสถานที่วิเวก เหมาะแก่การเจริญภาวนาธรรมท่านจึงได้ตัดสินใจปักกลดพักแรม และได้ทราบด้วยญาณว่า ดินแดนแห่งนี้เคยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน จึงได้จำวัดอยู่ ณ.บริเวณวัดนี้ ซึ่งพอดีที่วัดพะเนียงแตกไม่มีเจ้าอาวาส เนื่องจากหลวงปู่สุขได้มรณภาพมานานแล้วจึงทำให้วัดแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างกลายสภาพเป็นป่ารกชัฏดังกล่าว ประชาชนเห็นว่าหลวงพ่อทาได้ธุดงค์มาปักกลดอยู่ที่วัดนี้และมีความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้นิมนต์ให้หลวงพ่อทาอยู่ประจำวัดและให้เป็นเจ้าอาวาสของวัดพะเนียงแตก เมื่อประมาณพ.ศ.๒๔๓๐ หลวงพ่อทาได้ปกครองวัดพะเนียงแตกมาเป็นเวลานพอสมควร ท่านจึงเริ่มลงมือสร้างเป็นวัดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง พร้อมทั้งสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ขึ้นมามากมายรวมทั้งอุโบสถ ในช่วงระหว่างการสร้างวัดแห่งนี้ท่านยังได้สร้างวัดอื่น ๆ ขึ้นมาอีก เช่นวัดบางหลวง วัดดอนเตาอิฐ วัดสองห้อง เป็นต้น หลวงพ่อทา ในช่วงนั้นท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมาก ได้รับการยอมรับนับถือว่า เป็นพระนักปฏิบัติเชี่ยวชาญในด้านสมถะวิปัสสนา กัมมัฏฐานอย่างมาก มีพลังจิตแก่กล้าและมีลูกศิษย์ลูกหาเป็นจำนวนมาก ทั้งบรรพชิตและฆราวาส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ( พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓ ) ทรงทราบถึงเกียรติคุณดังกล่าว จึงมีรับสั่งโปรดเกล้า ฯ ให้เข้าเฝ้าอยู่เสมอ ๆ ด้วยท่านทรงโปรดปราน พระเถระผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมถะวิปัสสนากัมมัฏฐานมาก และหลวงพ่อทาก็เป็นพระเถราจารย์องค์หนึ่งที่พระองค์ท่านทรงนับถือเป็นอย่างมาก ดังนั้นพระราชพิธีหลวงต่าง ๆ ท่านจะรับสั่งให้นิมนต์หลวงพ่อทา เสมอ ๆ เช่น พิธีหลวงการพระศพ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมพระยาปวเรศวริศยาลงกรณ์ ท่านก็ได้รับนิมนต์ และได้รับถวายพัด เนื่องในพิธีหลวงการพระศพดังกล่าว ซึ่งมีขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๔๓๕ โดยพยานหลักฐานยืนยันก็คือ ภาพถ่ายของท่าน และมีระบุในภาพถ่ายดังกล่าว ว่าถ่าย ร.ศ.๑๒๗ ตรงกับปีพ.ศ.๒๔๕๑ พัดที่ตั้งอยู่ด้านขวามือของท่านคือ พัดยศ ส่วนพัดทางด้านซ้ายมือ คือ พัดที่ได้รับถวายเนื่องในพิธีหลวงการพระศพ ข้อความที่ระบุในพัดคือ การพระศพสมเด็จพระอริยวงษาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑ กล่าวได้ว่า ตลอดชีวิตของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ท่านได้ดำรงชีวิตในสมณะเพศ มีความหมายเป็นอย่างยิ่ง เมื่อท่านได้บรรพชา –อุปสมบท ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพากเพียรปฏิบัติให้เกิดผลทุกด้าน นำสิ่งที่ได้ศึกษาและปฏิบัติ มาอบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ให้ยึดถือปฏิบัติแนวทางอย่างถูกต้องตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาอย่างเต็มกำลัง กระทั่งแม้ท่านมีอายุมากแล้ว ก็ยังปฏิบัติศาสนกิจอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง จนเป็นที่เคารพศรัทธาของบรรดาพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ปี พ.ศ.๒๔๖๒ ตรงกับปีมะแม หลวงพ่อทาได้ชราภาพมากจึงถึงแก่มรณภาพด้วยอาการอันสงบ รวมสิริอายุได้ ๙๖ ปี พรรษาที่ ๗๖ สิ่งที่หลงเหลือ เป็นอนุสรณ์ให้ร่ำลือนึกถึงท่านก็คือเกียรติคุณ คุณงามความดี และบารมีความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน สมดั่งเป็นพระอุปัชฌาย์ผู้เข้มขลัง แห่งจังหวัดนครปฐม เป็นที่รู้จักโด่งดังมากจน เป็นที่กล่าวขวัญชื่นชมไปทั่วประเทศ
เข้าชมร้าน     ชวนชมพระเครื่อง
โทรศัพท์     0830353321 , 0830353321
ผู้เข้าชม   8007
*** ตะกรุดไม้ครู รักมันส์ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก  ***



  พระเครื่อง มณเฑียร   สงวนลิขสิทธิ์ เนื้อหาทั้งหมดตั้งแต่ปี 2011 ชมรมพระเครื่อง มณเฑียร   พระเครื่อง มณเฑียร  
 
พระเครื่อง มณเฑียร เว็บไซด์ : พระมณเฑียร : WWW.PRAMONTIEN.COM   พระเครื่อง มณเฑียร
 
ห้ามคลิกขวา