\ ข่าวพระเครื่อง เหรียญหลวงพ่อทวดรุ่น๓พิมพ์สามขีดใน - เหรียญหลวงพ่อทวดรุ่น๓พิมพ์สามขีดใน : พระเครื่อง มณเฑียร
เว็บพระมณเฑียร ศูนย์รวม ร้านค้าพระเครื่อง ยอดนิยม ในการซื้อขายแลกเปลี่ยน พระเครื่อง พระบูชา วัตถุมงคลต่างๆ
พระเครื่อง พระมณเฑียร  พระมณเฑียร  ͧ   สมัครเปิดร้าน  ͧ   พระเครื่องมาใหม่  พระเครื่อง พระมณเฑียร   ข่าวพระเครื่อง/บทความ พระเครื่อง พระมณเฑียร    ร้านพระเครื่อง พระเครื่อง พระมณเฑียร  ติดต่อ    ค้นหาพระ:   ENG Version











เหรียญหลวงพ่อทวดรุ่น๓พิมพ์สามขีดใน



เหรียญหลวงพ่อทวดรุ่น๓พิมพ์สามขีดใน

เหรียญหลวงพ่อทวดรุ่น ๓ พิมพ์สามขีดใน (พิมพ์กิ่งไผ่) ปี ๒๕๐๔ : เหรียญหลักยอดนิยม โดยตาล ตันหยง

ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในคอลัมน์นี้ ในฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ว่า...ในบรรดา เหรียญหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ทุกรุ่นทุกพิมพ์ พบว่า เหรียญรุ่น ๓ เป็นเหรียญที่มีจำนวนสร้างมากที่สุด และมีพิมพ์ย่อยๆ แยกออกไปมากมายหลายพิมพ์ เมื่อเปรียบเทียบกับเหรียญรุ่นอื่นๆ แต่เหรียญรุ่น ๓ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดและหายากที่สุด ในลำดับค่านิยมที่ใกล้เคียงกันก็คือ เหรียญเสมา พิมพ์ ๒ จุด รัดประคดข้างเดียว, เหรียญเสมา พิมพ์ ๒ จุด รัดประคดเต็ม และเหรียญเสมา พิมพ์ ๓ ขีดใน หรือที่บางคนเรียกว่า “พิมพ์กิ่งไผ่”

ในวันนี้จะเสนอข้อมูลเนื้อหาและภาพเหรียญที่สวยสมบูรณ์ เป็นเหรียญแท้ดูง่ายที่ยึดเป็น เหรียญองค์ครู ได้เลย

เหรียญเสมา พิมพ์ ๓ ขีดใน หรือ พิมพ์กิ่งไผ่ เป็นพิมพ์ที่ตั้งชื่อตามจุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ที่ปรากฏภายในเหรียญนี้ คือ ที่เหรียญด้านหน้า ตรงแถบซุ้มเหรียญด้านบน ที่มีรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดวางเรียงกัน จำนวน ๑๓ ช่อง ในแต่ละช่องของรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดนี้จะมีเส้น ๓ เส้น หรือ ๓ ขีดปรากฏอยู่อย่างชัดเจน ภายในแต่ละอันของสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดนี้ ยกเว้นช่องที่มีจุดภายใน และช่องที่ติดกันทางซ้าย เส้นเหล่านี้มีลักษณะเป็นรอยขีด หรือเหมือนกับ กิ่งไผ่ ในแนวนอน โดยแต่ละขีดจะทำมุมเอียงกันเล็กน้อย อันเกิดมาจากการแกะแม่พิมพ์เหรียญนี้ และเป็นที่มาของชื่อที่เรียกเหรียญพิมพ์นี้โดยเฉพาะ (เหรียญรุ่น ๓ อื่นๆ จะไม่มีขีดดังกล่าว)

นอกจากนี้เหรียญพิมพ์ ๓ ขีดใน (กิ่งไผ่) นี้ยังมีจุดสังเกตอีกจุดหนึ่ง ที่ต่างกับเหรียญเสมาทั่วไป คือ ที่บริเวณเส้นบังคับขอบซ้ายขวาในแนวดิ่งของแถบซุ้มเหรียญ จะไม่มีเม็ดไข่ปลาเหมือนกับเหรียญเสมารุ่นแรก และที่บริเวณงวงช้างด้านซ้ายมือหลวงพ่อทวด จะมีเส้นแตก เป็นเส้นคมๆ วิ่งจากชายจีวรผ่านงวงช้างไปถึงแนวอักขระ

และเมื่อพิจารณาที่ด้านหลังของเหรียญ มักจะปรากฏเส้นร่องพาดผ่าน (ใกล้กับแถบหูพระอาจารย์ทิม) จากแนวระดับตาจนถึงปลายคางด้านซ้ายของพระอาจารย์ทิม สำหรับเหรียญที่มีสภาพเดิมๆ ธรรมชาติผิวรมดำจะเหมือนกับเหรียญรุ่น ๓ ทั่วๆ ไป

เหรียญเสมา พิมพ์ ๓ ขีดใน หรือพิมพ์กิ่งไผ่ ประวัติการสร้างตามที่ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วไปค่อนข้างจะคลุมเครือ กล่าวคือ บางกระแสบอกว่า สร้างในปี ๒๕๐๒ และระบุเป็น

ในขณะที่บางกระแส บอกว่า สร้างในปี ๒๕๐๔ และระบุเป็นเหรียญรุ่น ๓ แต่ในรายการประกวดพระเครื่องที่เป็นมาตรฐาน โดยมีสมาคมผู้นิยมพระเครื่อง รับรองจะระบุว่า เป็นเหรียญรุ่น ๓ สร้างในปี ๒๕๐๔ เหรียญพิมพ์นี้ ตามที่พบเห็นจะเป็น เนื้อทองแดงรมดำ เท่านั้น โดยมีการแบ่งย่อยออกเป็น ๓ พิมพ์ ตามลักษณะทางกายภาพที่ปรากฏบนพื้นเหรียญ คือ พิมพ์ที่ ๑ คือ พิมพ์สมบูรณ์ หรือพิมพ์ไม่มีผด พิมพ์นี้ปั๊มออกมาได้สวยงาม และคมชัด ทั้งด้านหน้าและด้านหลังเหรียญ ไม่มีเม็ดผด ที่เกิดขึ้นด้านหน้าของเหรียญอย่างที่เกิดในพิมพ์ที่ ๒ และพิมพ์ที่ ๓ ที่จะกล่าวต่อไป สันนิษฐานว่า เป็นเหรียญที่เกิดจากการปั๊มจากแม่พิมพ์อันแรก ที่ยังคมชัดสมบูรณ์อยู่ เหรียญพิมพ์ที่ ๑ นี้ปัจจุบันหาชมเหรียญแท้ของจริงที่มีสภาพสวยสมบูรณ์ได้ยากกว่าเหรียญเสมา พิมพ์ ๒ จุด รัดประคดข้างเดียว และเหรียญเสมา พิมพ์ ๒ จุด รัดประคดเต็ม เสียอีก คาดว่าปริมาณการสร้างคงมีน้อยมาก ทำให้ เหรียญพิมพ์ ๓ ขีดใน (กิ่งไผ่) ที่ไม่มีผด มีค่านิยมการเช่าบูชาอยู่ในระดับเดียวกับ เหรียญเสมา ๒ จุด องค์สวยๆ สภาพแชมป์ก็เกินครึ่งล้านแล้วในขณะนี้

พิมพ์ที่ ๒ คือ พิมพ์มีผดน้อย จุดสังเกตของพิมพ์นี้ก็คือ ตรงบริเวณลำแขนด้านขวา ซอกจีวร แก้ม และเปลือกตา ด้านขวาและเข่าขวาของหลวงพ่อทวด จะมีเม็ดผดเล็กๆ ปรากฏอยู่

และที่ขอบเส้นซุ้มลายกนกด้านขวาของหลวงพ่อทวดมีก้อนเนื้อเกินเกาะกันเป็นทิว เช่นกัน...ที่ร่องเส้นหน้าผากของหลวงพ่อทวดจะมีก้อนเนื้อเกินแทรกอยู่ สันนิษฐานว่า เหรียญพิมพ์นี้เกิดมาจากการปั๊มเหรียญจากแม่พิมพ์อันหลัง ที่เริ่มไม่สมบูรณ์ สาเหตุอาจจะเกิดจากการจัดเก็บบำรุงรักษาแม่พิมพ์ไม่ดีพอ (หลังจากผ่านการปั๊มในพิมพ์ที่ ๑ ไปแล้ว) ทำให้เกิดสนิมขุมขึ้น มีลักษณะคล้ายรูพรุน (แต่ไม่รุนแรงเท่าแม่พิมพ์ที่ปั๊มเหรียญพิมพ์ที่ ๓ ซึ่งจะกล่าวต่อไป) เมื่อนำแม่พิมพ์มาปั๊มเหรียญจึงเกิดเป็นเม็ดผดกระจายบนผิวเหรียญดังกล่าว (สมัยก่อนเรียกกันว่า “กลาก” ซึ่งฟังแล้วไม่เหมาะสม จึงเปลี่ยนมาเรียกกันว่า “ผด” แทน)

พิมพ์ที่ ๓ คือ พิมพ์มีผดมาก คล้ายกับที่กล่าวในพิมพ์ที่ ๒ เหรียญพิมพ์นี้เกิดมาจากการนำแม่พิมพ์เดิมมาปั๊มเหรียญพิมพ์นี้ ซึ่งแม่พิมพ์ดังกล่าวมีความไม่สมบูรณ์อย่างมาก จึงทำให้เกิดสนิมขุมขึ้น ลักษณะคล้ายรูพรุนที่รุนแรง และกินบริเวณที่กว้างขึ้น เมื่อนำมาปั๊มเหรียญ ทำให้เกิดจำนวนเม็ดผดที่กระจายเป็นวงกว้างเพิ่มขึ้น และเม็ดผดเหล่านี้มีขนาดโตขึ้น กว่าเม็ดผดในเหรียญพิมพ์ที่ ๒ โดยเฉพาะตรงบริเวณด้านขวาขององค์หลวงพ่อทวด จุดสังเกตจุดหนึ่งของพิมพ์ที่ ๒ และพิมพ์ที่ ๓ คือ ริมฝีปากด้านบนของหลวงพ่อทวด มักจะบี้แบน ไม่คมชัดเหมือนกับพิมพ์ที่ ๑ และสันจมูกก็ไม่โด่งคมสันเท่าพิมพ์ที่ ๑ เช่นกัน

เหรียญพิมพ์ที่ ๒ และพิมพ์ที่ ๓ นี้ หากสังเกตดีๆ ในภาพรวมจะพบว่า มีความคมชัดน้อยกว่าพิมพ์ที่ ๑ คาดการณ์ว่า อาจมีการสร้างหลังจากพิมพ์ที่ ๑ มาแล้วระยะหนึ่ง เพราะสังเกตจากการเปลี่ยนสภาพของแม่พิมพ์ ที่ทำให้ปรากฏเม็ดผดบนเหรียญดังกล่าว

จุดที่สังเกตความแท้และเก๊ของเหรียญนี้ ก็คล้ายกับเหรียญทั่วไป คือ พิมพ์ทรงถูกต้อง ความคมชัดของตัวยันต์อักขระและเม็ดตา ธรรมชาติของเส้นเสี้ยน และเส้นแตกจากการปั๊ม คอหูเหรียญ รอยตัดขอบเหรียญ นอกจากนี้ยังมีจุดสำคัญที่ควรต้องจดจำก็คือ ธรรมชาติการรมดำผิวเหรียญ ต้องดูให้ออกว่ามีธรรมชาติความเดิมหรือไม่หรือกรณีเป็นเหรียญแท้ต้องดูว่าเป็นผิวรมดำเดิมหรือผิวทำใหม่ สำหรับนักสะสมมือใหม่หากไม่แม่นพิมพ์และตำหนิมากนัก

จุดตายจุดหนึ่งของเหรียญนี้ที่หลายคนอาจไม่ทราบ หรือไม่ได้สังเกต ก็คือ ด้านหลังของเหรียญรูปพระอาจารย์ทิม ที่ขอบเหรียญด้านบน ตำแหน่งที่ติดกับคอหูเหรียญ ทั้งด้านซ้ายและขวา จะมีรอยปลิ้นกลับของครีบขอบเหรียญ ซึ่งเป็นอย่างนี้แทบทุกเหรียญที่เป็นเหรียญแท้ (ยกเว้นเหรียญที่สึกมากๆ อาจปรากฏไม่ชัด หรือไม่ปรากฏเลย)

เหรียญเสมา พิมพ์ ๓ ขีดใน หรือพิมพ์กิ่งไผ่ ที่ลงให้ชมเป็นวิทยาทานทั้ง ๓ เหรียญ ครบทุกพิมพ์ในวันนี้ เป็นเหรียญที่ผ่านการประกวดมาแล้ว เป็นแชมป์งานที่รับรองโดยสมาคมพระเครื่อง ทั้ง ๓ เหรียญ เหรียญแรกเป็นพิมพ์ที่ ๑ พิมพ์สมบูรณ์ไม่มีผด เป็นหนึ่งในองค์แชมป์ของวงการ การันตีด้วยแชมป์งานประกวดใหญ่ของประเทศคืองานไบเทค ครั้งแรก ปี ๒๕๐๙ เป็นเหรียญเก่าเก็บ ไม่ผ่านการใช้มาก่อนเลย สภาพผิวรมดำเดิมแซมด้วยผิวปรอทที่สมบูรณ์ทั้งด้านหน้าและหลัง เหรียญที่สองและสามเป็นพิมพ์ที่ 2 หรือพิมพ์มีผดน้อย และพิมพ์ที่ 3 หรือพิมพ์มีผดมาก ตามลำดับ ซึ่งมีสภาพสวยสมบูรณ์แทบไม่ผ่านการใช้มาเช่น


ข้อมูลจาก http://www.komchadluek.net



  พระเครื่อง มณเฑียร   สงวนลิขสิทธิ์ เนื้อหาทั้งหมดตั้งแต่ปี 2011 ชมรมพระเครื่อง มณเฑียร   พระเครื่อง มณเฑียร  
 
พระเครื่อง มณเฑียร เว็บไซด์ : พระมณเฑียร : WWW.PRAMONTIEN.COM   พระเครื่อง มณเฑียร