พระเครื่อง มณเฑียร
 ร้าน  ฉัตรทอง-เจดีย์หลวง
 
 พระเครื่อง  มณเฑียร หน้าพระมณเฑียร      พระเครื่อง  มณเฑียร หน้าร้าน    พระเครื่อง  มณเฑียร การรับประกัน / การชําระเงิน     พระเครื่อง  มณเฑียร รายละเอียดของร้าน

พระหลวงพ่อพิบูลย์ เนื้อไม้ ฝังตะกรุด 3 ดอก



พระเครื่อง พระหลวงพ่อพิบูลย์ เนื้อไม้ ฝังตะกรุด 3 ดอก

พระเครื่อง พระหลวงพ่อพิบูลย์ เนื้อไม้ ฝังตะกรุด 3 ดอก



รหัสพระเครื่อง   MT1034407
ชื่อพระเครื่อง   พระหลวงพ่อพิบูลย์ เนื้อไม้ ฝังตะกรุด 3 ดอก
ราคา      โทรถาม 
รายละเอียด   
ประวัติหลวงพ่อพิบูลย์ ผู้ก่อตั้งบ้านแดงและวัดพระแท่น
หลวงปู่พิบูลย์ นามเดิมว่า พิบูลย์ แซ่ตัน เกิดที่บ้านพระเจ้า ตำบลมะอึ (ปัจจุบันตำบลพระเจ้า) อำเภอธวัชบรี จังหวัดร้อยเอ็ด บิดาซื่อนายสา แซ่ตัน มารดาซื่อนางโสภา แซ่ตัน มีอาชีพค้าขาย และทำนา เคยรับราชการทหารอยู่หลายปี และเคย แต่งงานแต่ไม่ปรากฏชื่อภรรยา ได้ครองเรือนอยู่ด้วยกันหลายปีแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน จึงไปขอบุตรสาวของนายจันทีมาเลี้ยงจนบุตรสาวโต และได้แต่งงานกับชายมีฐานะทัดเทียมกัน ปกติวิสัยของหลวงปู่ตั้งแต่เป็นฆราวาส เป็นคนชอบทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ชอบทำบุญฟังธรรมและสนทนาธรรมอยู่เป็นประจำ ต่อมาเห็นว่าบุตรสาวและบุตรเขยอยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุขแล้ว จึงปรึกษากับภรรยาและบุตรว่าอยากจะบวชภรรยาและบุตรก็ตกลงให้บวช โดยภรรยามีข้อแม้ว่าจะขอบวชถือศีลแปด เหมือนกัน แต่จะไปคนละทิศ จึงได้ตกลงแยกกันบวชกับภรรยา และยกทรัพย์สินทั้งหมดให้บุตรสาวและบุตรเขย หลังจากนั้น 7 วัน หลวงปู่พิบูลย์ก็ได้ชวนนายฮวด ซึ่งเป็นเพื่อนรักกันออกบวชกับสำนักพระอุปัชฌาย์ ในขณะนั้นที่มีอายุได้ 45 ปี (ไม่ปรากฏชื่ออุปัชฌาย์ ) บวชอยู่ได้หนึ่งพรรษา จึงได้แยกกับหลวงปู่ฮวด และเดินธุดงค์ไปยังประเทศลาว โดยไปที่ภูอากและภูเขาควาย เพื่อบำเพ็ญสมณธรรมอยู่หลายพรรษา ต่อมาหลวงปู่ก็ได้พบอาจารย์ วิเศษซึ่งมีไม้เท้าหนักหมื่น (12 กิโลกรัม ) จึงได้เรียนกรรมฐาน และปฏิบัติธรรมอยู่กับลูกศิษย์รูปอื่น ๆ ของพระอาจารย์ 7 รูป เป็นเวลา 3 ปี ต่อมาพระอาจารย์จึงได้เรียกลูกศิษย์ทั้ง7 รูปมาทดสอบ โดยส่งลูกสมอให้คนละลูก ซึ่งถ้าผู้ใดได้บรรลุธรรมวิเศษแล้วขอให้อมลูกสมอแตก หลวงพ่อพิบูลย์จึงอมลูกสมอปรากฏว่าแตกเหมือนกับลูกศิษย์ของอาจารย์อีก 2 รูป อาจารย์จึงส่งให้กลับมาประกาศพุทธศาสนายังประเทศไทย ให้หลวงปู่พิบูลย์ประกาศศาสนาที่ภาคอีสาน ส่วนอีก 2 รูป ให้ประกาศพระพุทธศาสนาที่ภาคเหนือและภาคใต้ หลวงปู่จึงได้เดินทางข้ามลำน้ำโขงมาทางนครพนม และนมัสการพระธาตุพนมแล้วเดินทางมาถึงอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี มาตั้งวัดอยู่เกาะแก้วเกาะเกศ ที่วัดแห่งนี้เดิมที่เป็นสถานที่อาถรรพณ์ ผู้คนไม่กล้าเข้าไปใกล้ พอหลวงปู่พิบูลย์ไปแผ้วถาง ไม่มีอันตรายชาวบ้านจึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา และที่ท่าน้ำบริเวณวัดแห่งนี้มีจระเข้ยักษ์ตัวหนึ่งชอบขึ้นมาลักลอบเอาสุนัข และสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านไปกินเป็นประจำ ชาวบ้านจึงไปปรึกษาหลวงปู่ ท่านหลวงปู่ก็บอกว่าไม่ต้องกลัวมันบ่ยากดอก (ภาษาอีสาน แปลว่า ไม่ยาก ) แล้วบอกให้ชาวบ้านเอาเทียนเวียนหัวคนละเล่มชาวบ้านทำตามที่หลวงปู่ก็นั่งบริกรรมอยู่สักครูก็บอกชาวบ้านว่า ให้คอยดูจะเอาแส้ (ไม้เรียว ) ลงไปไล่ตีมันให้หนีจากวังน้ำนี้ สักครู่หลวงปู่พร้อมด้วยเทียนที่ถืออยู่กับไม้เรียวก็ลงไปในน้ำชาวบ้านเห็นน้ำขุ่นมัวไปหมด ประมาณ 2 ชั่วโมง หลวงปู่ก็กลับขึ้นมาซึ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์ ที่เทียนในมือของหลวงปู่ถือลงไปดำน้ำก็ยังไม่ดับ และสบงจีวรก็ไม่เปียก หลวงปู่บอกชาวบ้านว่า มันยอมแพ้แล้วจะหนี้ไปภายในใน 7 วัน หลวงปู่จึงเรียกจระเข้ขึ้นมาให้ชาวบ้านดู จระเข้ก็ขึ้นมานอนนิ่งที่ฝั่ง หลวงปู่ก็บอกอีกว่า ให้หนีจากลำห้วยแห้งนี้ภายใน 7 วัน (ลำน้ำปาวในปัจจุบัน) ภายใน 7 วัน จระเข้ก็คลานลงไปในน้ำหลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีจระเข้ในลำน้ำปาวอีกเลย จึงยิ่งทำให้ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาหลวงปูเป็นอย่างมากยิ่งเป็นทวีคูณ หลวงปู่ได้สร้างวัดพอสมควรแล้ว จึงเดินธุดงค์ขึ้นไปหาพระอาจารย์ที่ที่ประเทศลาว พอไปถึงอาจารย์ก็บอกว่าวัดที่สร้างไม่ใช่วัดที่ข้าบอกวัดที่ข้าบอกอยู่ทิศเหนือชองหนองหานติดกับห้วยหลวง หลวงปู่จึงเดินธุดงค์กลับมา เพื่อบอกลาพ่ออกแม่ออก (ญาติโยม ) ทำให้ ญาติโยมเสียดายเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นหลวงปู่ก็เดินทางเพื่อหาวัดที่พระอาจารย์บอกไปสร้างต่อ พอมาถึงบ้านเชียงงาม (ปัจจุบันอยู่ติดกับอำเภอหนองหาน ) หลวงปู่ได้พบกับโยมคนหนึ่งชื่อโยมเวียง จึงถามหาห้วยหลวง โยมเวียงบอกว่า วันนี้คงเดินทางไปไม่ถึงห้วยหลวงขอให้จำพรรษาที่วัดนี้ก่อนเพราะวันนี้เป็นวันเข้าพรรษา หลวงปู่จึงรับนิมนต์แล้วจำพรรษาที่วัดเชียงงาม โยมเวียงจึงพาหลวงปู่เข้าบ้าน หลวงปู่จึงถามโยมเวียงว่า มีใครเอาอะไรมาฝากไว้ไหม ทางโยมเวียงตอบว่าเมื่อ 10 ปีก่อนมีคนเอาไม้เท้ามากฝากไว้ บอกว่าจะมีคนมาเอาเอง โยมเวียงจึงได้นำมาถวายหลวงปู่ หลวงปู่จึงคลี่ผ้าขาวออกมีตัวหนังสือเป็นตัวยันต์เต็มไปหมด ใจความว่า หลวงปู่พิบูลย์ โยมเวียงจึงถามว่าผู้ที่นำไม้เท้ามาฝากนี้เป็นใคร หลวงปู่บอกว่าเป็น เทพบุตรอยู่ในสรวงสวรรค์มาฝากไว้ ในขณะที่จำพรรษาอยู่ที่วัดเชียงงาม มีหนุ่มคนหนึ่ง ชื่อเถิกเป็นคนหัวดื้อ เรียนวิชาอาคมมา (เดียรฉานวิชา) คือ วิชาควายธนู เป็นคนเกะกะระรานชาวบ้าน หลวงปู่จึงได้ว่ากล่าวตักเตือน นายเถิกเกิดความไม่พอใจจึงโกรธจัด ครั้งหนึ่งขณะที่หลวงปู่กำลังบำเพ็ญภาวนาอยู่ นายเถิกได้ปล่อยควายธนู หวังจะฆ่าหลวงปู่เพราะความโกรธแค้น ควายธนูของนายเถิกได้วิ่งรอบตัวหลวงปู่แต่ทำอะไรไม่ได้หลวงปู่จึงเอากระโถนครอบควายธนูนายเถิกไว้ ต่อมาวันรุ่งเช้า หลวงปู่ออกบิณฑบาตก็เห็นชาวบ้านกำลังทำโลงศพใส่นายเถิก ซึ่งชาวบ้านบอกว่าไหลตาย ตั้งแต่ตอนตีสองเมื่อคืนนี้ หลวงปู่จึงบอกว่าไม่ต้องทำโลงศพหรอก ให้นายเถิกกินน้ำมนต์หลวงปู่ก็ฟื้น แต่ต้องให้หลวงปู่ฉันภัตตาหารก่อน ให้เอาขัน 5 ขัน 8 มาให้ พอหลวงปู่ได้ขันดอกไม้และเทียนเป็นขัน 5 ขัน 8 แล้ว หลวงปู่จึงทำน้ำมนต์ แล้วให้ชาวบ้านเอาไปกรอกปากนายเถิก นายเถิกจึงฟื้นขึ้นมาและได้ขอบวชกับหลวงปู่และเป็นผู้ติดตามหลวงปู่ ออกพรรษาแล้วหลวงปู่ก็ได้เดินทางไปยังทิศเหนือของอำเภอหนองหาน จนถึงห้วยดาน ได้พบจารย์มีเป็นคนแรก จึงถามว่าอีกไกลไหมจึงจะถึงบ้านไท และจารย์มีจะไปไหน จารย์มีตอบว่าอีกไม่ไกลหรอก ตอนนี้กำลังออกตามหาควาย เพราะควายหายไปหลายวันแล้ว หลวงปู่ก็บอกว่า บ่ต้องไปหามันดอก สีนวดเอามันก็แล่นตาม (ภาษา อีสานใจความว่า ไม่ต้องไปตามหาหรอกสีนวดเอาควายก็จะวิ่งตามาเอง ) ให้มารับเอาบริขารหลวงปู่ไปทีบ้านไท จารย์มีก็เลยพาหลวงปู่ไปที่บ้านไท ซึ่งก็เป็นที่อัศจรรย์เมื่อหลวงปู่กับจารย์มีเดินข้ามห้วยหลวงมาถึงห้วยมันปลา ก็ปรากฏว่าฝูงควายที่พ่อจารย์มีตามหาอยู่หลายวัน วิ่งตามมาจริง ๆ หลวงปู่ก็เลยบอกว่ามันตามมาแล้ว จารย์มีจึงเริ่มเห็นอภินิหารของหลวงปู่ พอไปถึงบ้านไท หลวงปู่จึงได้ถามชาวบ้านว่ามีวัดเก่าไหมแถวละแวกนี้ ชาวบ้านก็บอกว่า มีแต่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ผู้คนเข้าไปไม่ได้ แม้แต่จะปัสสาวะก็ไม่กล้าหันหน้าไปทางนั้น ถ้าใครไม่เชื่อจะมีอันเป็นไปถึงตาย หลวงปู่บอกว่าไม่เป็นอะไรหรอกเพราะเจ้าของมาแล้ว จากนั้นหลวงปู่จึงได้ชักชาวบ้านเข้าไปดูในวัด ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดอกไม้สีแดง มีซากปรักหักพัง ของโบสถ์วิหาร ภายในวิหารมีแท่นพระใหญ่ แต่ไม่มีพระพุทธรูป มีต้นแดง ต้นใหญ่อยู่ใกล้ ๆ หลวงปู่จึงตั้งชื่อว่า วัดพระแท่น ตามแท่นพระใหญ่ และชาวบ้านไทแผ้วถางได้ประมาณ 6 ไร่ และชาวบ้านได้พากันบริจาคหญ้าสำหรับมุงหลังคา เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวให้หลวงปู่เมื่อวันอังคาร แรม 8 ค่ำ ปีชวด พ.ศ. 2443 ( 16 ตุลาคม 2443 ) ด้วยไพหญ้าคา 34 ไพ หลังจากนั้น หลวงปู่ก็ได้พาชาวบ้านไทพัฒนาวัดพระแท่น และได้วางผังเมือง ใหม่แล้วชักชวนชาวบ้านไทให้มาอยู่ที่แห่งใหม่ โดยตั้งชื่อว่า บ้านแดง ตามนามต้นไม้แดงใหญ่และหนองแดง หลวงปู่ได้พาชาวบ้านพัฒนาทั้งวัดและบ้านใครมีเรื่องเดือดร้อนอะไร หลวงปู่ก็จะช่วยเหลือหมด จนกระทั้งชื่อเสียงของหลวงปู่เลื่องลือไปไกล มีประชาชนจากหลายจังหวัด อพยพครอบครัวมาอยู่ กับหลวงปู่จึงได้พาชาวบ้านสร้างศาลาใหญ่ขึ้น โดยเลือกเอาเฉพาะไม้แดง ไม้ตะเคียน ไม้ประดู่ ไม้เต็ง หลวงปู่พาชาวบ้านสร้างศาลาใหญ่ทั้งวันทั้งคืน กลางวันก็ผลัดคนแก่ กลางคืนคนหนุ่มสาวช่วยไปลากไม้โดยหลวงปู่ทำเป็นเกวียนหลังใหญ่ ให้หนุ่มสาวไปลากไม้มาทีละ 4-5 ท่อน มีอยู่ครั้งหนึ่งที่หลวงปู่พาชาวบ้านไปตัดต้นตะเคียนยักษ์ ที่ริมห้วยหลวงแต่ไม้กลับล้มลงไปในห้วยหลวง น้ำลึกประมาณ 3-4 เมตร ไม่มีใครกล้าลงไปตัดหลวงปู่จึงดำน้ำลงไปตัดคนเดียว ประมาณ 2 ชั่วโมง หลวงปู่ก็เอาไม้ตะเคียนใหญ่ขนาดวัดรอบ 3 วา 2 ท่อน ยาวท่อนละ 12 ศอก โดย ที่ผ้าสบงจีวรไม่เบียกน้ำ ต่อมาสร้างวัดเสร็จแล้ว หลวงปู่ก็พาชาวบ้านสร้างที่พักอาศัย ให้ชาวบ้านมาอยู่รอบวัดทางทิศตะวันออกหลังใหญ่ 1 หลัง ทำมีด ทำจอบ ทำเสียม ไว้เป็นกองทุนคอยแจกจ่ายชาวบ้านที่มาขอพึ่งใบบุญ และทำธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือไว้คอยแจกจ่ายแก่คนยากจนและได้บอกกับชาวบ้านว่า บ้านแห่งนี้จะเห็นเมืองในอนาคต จึงชักชวนชาวบ้านวางผังเมือง โดยแบ่งสถานทีราชการในอนาคตไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปอยู่ ส่วนที่อยู่บ้านก็แบ่งเป็นคุ้ม ๆ ให้อยู่อย่างมีระเบียบจนถึงปัจจุบัน และการห่มจีวรของพระภิกษุสามเณร ให้ห่มเหมือนพระอุปัชฌาย์บวชให้ ( นิกายเดิม) จนทำให้ทางราชการบ้านเมือง คณะสงฆ์เข้าใจผิดคิดว่าหลวงปู่เป็นกบฏซ่องสุมอาวุธ จึงได้จับหลวงปู่นำไปถ่วงน้ำที่เกาะสีชัง จังหวัดภูเก็ต นานถึง 7 วัน 7 คืน คิดว่าคงมรณภาพแล้วจึงได้นำขึ้นมา แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง เพราะหลวงปู่ยังไม่มรณภาพและผ้าสบงจีวรที่หลวงปู่นุ่งก็ไม่เปียกน้ำ จึงทำให้ทางราชการเกิดความศรัทธาจึงนิมนต์ให้อยู่ที่นั่นนานถึง 3 ปี จึงส่งหลวงปู่กลับวัดพระแท่น บ้านแดง ด้วยความศรัทธาของชาวบ้าน เมื่อทราบข่าวว่าหลวงปู่กลับมาก็พากันดีอกดีใจ จึงขอบวชชีพราหมณ์ให้ ฝ่ายพระสงฆ์บอกว่าผิดกฎหมายของสงฆ์จึงนำตัวหลวงปู่ไปอีกครั้ง โดยนำไปไว้ที่วัดโพธิสมภรณ์ เจ้าคณะมณฑลอุดร ขณะที่อยู่วัดก็ถูกบังคับให้สึกไม่ให้บิณฑบาต แต่หลวงปู่ไม่ทำตามและยังมีราษฎรที่มีความศรัทธา นำเอาเงินทองไปถวายไม่ขาดระยะ ขณะอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ 15 พรรษา ได้สร้างกุฏิ 55 หลัง และฉางข้าว 2 หลัง เงินที่ได้รับบริจาคยังให้ลูกศิษย์ คือหลวงโชติ (ปัจจุบันมรณภาพไปแล้ว อายุได้85 ปี ) ได้ซื้อโคกระบือ แจกจ่ายชาวบ้านอยู่ตลอดเวลาครั้นหนึ่ง ที่กุดแห่บ้านนานกหงส์ ได้มีฝูงจระเข้เข้าอยู่อาศัยในหนองน้ำมีมากมาย จนชาวบ้านไม่กล้าลงไปทำมาหากินในหนองน้ำ จึงนิมนต์หลวงปู่ไปปราบให้ หลวงปู่จึงพาชาวบ้านไปถึงกุดแห่ ก็ทำพิธีกรรม เสร็จแล้วก็ถือเทียนและแส้ลงไปในน้ำหลวงปู่บอกชาวบ้านว่าอยากเห็นเรือทองคำไหม เมื่อชาวบ้านบอกว่าอยากเห็น หลวงปู่ก็ล้วงมือลงไปในน้ำแล้วจับเรือทองคำยาวประมาณ 3 เมตร ขึ้นมาเมื่อชาวบ้านเห็นเรือทองคำแล้วก็ปล่อยลงไปในน้ำเหมือนเดิม แล้วหลวงปู่ก็ดำน้ำลงไปนานประมาณ 1 ชั่วโมง ชาวบ้านเห็นน้ำขุ่นมัวไปหมด พอหลวงปู่ขึ้นมาก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ เพราะเทียนที่หลวงปู่ถือดำน้ำลงไปยังไม่ดับและสบงจีวรก็ไม่เปียก หลวงปู่บอกว่าอีก 7 วัน ก็ให้ชาวบ้านลงไปหาปลาได้ ซึ่งตั้งแต่นั้นมาหนองน้ำแห่งนี้ไม่ปรากฏว่ามีจระเข้อีก ในครั้งที่เกิดสงครามอินโดจีน ฝรั่งเศสมาทิ้งระเบิดที่นาเกลือหลวงปู่สามารถบอกได้ว่าวันนี้จะมีการทิ้งระเบิดที่ไหน กี่ลูก หลวงปู่ก็รู้หมด แต่หลวงปู่บอกว่าอย่าตกใจ เพราะลูกระเบิดไม่ระเบิด ก็เป็นจริงดังหลวงปู่ว่าทุกประการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 หลวงปู่ก็อาพาธด้วยโรคชราภาพ มีลูกศิษย์ คอยดูแลรักษาปรนนิบัติ เป็นต้นว่า หลวงปู่หนู หลวงปู่โชติ พร้อมญาติโยมตอนที่หลวงปู่จะมรณภาพนั้นก็บอกให้ลูกศิษย์ออกไปข้างนอกและให้ปิดประตูเวลา 5 ทุ่ม ปรากฏว่าได้มีแสงสว่างเหนือกุฏิ ลูกศิษย์จึงได้เปิดประตูเข้าไปและพบว่าท่านมรณภาพแล้ว หลวงปู่พิบูลย์ได้มรณภาพในท่า สีหไสยาสน์ สิริรวมอายุได้ 135 ปี บรรดาลูกศิษย์ เมื่อทราบข่าวจึงพากันมาขอรับศพกลับคืนวัดพระแท่นบ้านแดง แต่เกิดปัญหาก็เลยต้องขอความร่วมมือทางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่เคารพศรัทธาในตัวท่านช่วย ชาวบ้านและลูกศิษย์จึงได้นำศพคืนโดยชาวบ้านนำเกวียนมา 100 เล่ม แห่ศพหลวงปู่คืนที่วัดพระแท่น และได้บรรจุศพหลวงปู่ไว้นานหลายปี ต่อมาเจ้าอธิการคำพันธ์ คันธะโร ได้พาชาวบ้านสร้างเจดีย์เสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2504 จึงได้ทำพิธีเผาศพ เมื่อปี พ.ศ. 2504 และในพิธีเผาศพก็ได้เกิดเหตุมหัศจรรย์ เช่น ไฟไหม้ กงเกวียนที่บรรจุศพของท่านต้องใช้น้ำรดตลอด เป็นต้น แสดงว่าคำทำนายของหลวงปู่ถูกต้องหมดทุกอย่างตามที่ทำนายและวางผังไว้ทุกประการ

เข้าชมร้าน     ฉัตรทอง-เจดีย์หลวง
โทรศัพท์     087-8538890 , 042-340119
ผู้เข้าชม   3229
***  พระเครื่อง มณเฑียร  ***



  พระเครื่อง มณเฑียร   สงวนลิขสิทธิ์ เนื้อหาทั้งหมดตั้งแต่ปี 2011 ชมรมพระเครื่อง มณเฑียร   พระเครื่อง มณเฑียร  
 
พระเครื่อง มณเฑียร เว็บไซด์ : พระมณเฑียร : WWW.PRAMONTIEN.COM   พระเครื่อง มณเฑียร
 
ห้ามคลิกขวา