บทความ พระเครื่อง
 
  • พระเครื่อง พระสมเด็จ วัดระฆัง  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้  
  • พระเครื่อง พระ หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิศวรวิหาร  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อช้าง วัดเขียนเขต  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ศุข  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อเงิน  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อซัง  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม  
  • พระเครื่อง กรมหลวงวชิรญานวงค์ วัดบวรฯ  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อเขียน วัดสำนักขุนเณร  
  • พระเครื่อง พระอธิการชู วัดนาคปรก  
  • พระเครื่อง หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์  
  • พระเครื่อง พระ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ  
  • พระเครื่อง พระ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อแฉ่ง วัดศรีรัตนาราม  
  • พระเครื่อง พระธรรมวโรดม วัดพระปฐมเจดีย์  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อกกล่อม วัดโพธาวาส  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อเกษม เขมโก  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อก๋ง วัดเขาสมอคอน  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม  
  • พระเครื่อง พระอุปัชฌากรัก วัดอัมพวัน  
  • พระเครื่อง พระครูนิสิตคุณากร (กัน)  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่เขียว วัดหรงบล  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ไข่ วัดบางเลน  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อซัง  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อซัง  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่แก้ว วัดช่องลม  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อเกิด วัดบางเดื่อ  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อคง วัดซำป่างาม  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อครน วัดบางแซะ  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อกึ๋น วัดดอน  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน  
  • พระเครื่อง พระสังวรานุวงค์เถร(ชุ่ม) (พลับ)  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อเชิด วัดลาดบัวขาว  
  • พระเครื่อง พระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ วัดปากสะ  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ช่วง วัดบางแพรกใต้  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อขำ วัดปราสาทนิกร  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ขำ วัดแก้ว  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ขาว วัดหลักสี่  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ขาว วัดถ้อกองเพล  
  • พระเครื่อง พระกรมหลวงชินวร สิริวัฒน์  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ชอบ วัดป่าสัมมนานุสรณ์  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม  
  • พระเครื่อง พระญานไตรโลก(ฉาย)  
  • พระเครื่อง พระ หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม  
  • พระเครื่อง พระอุปัชฌาเข็ม วัดม่วง  
  • พระเครื่อง พระสมุห์ขิง วัดกลาง  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่จัน วัดโมลี  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่จีน วัดท่าลาด  
  • พระเครื่อง พระพระอุบาลีคุณูปมาจารย  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อเงิน วัดอินทรวิหาร  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่เจียม วัดกำแพง  
  • พระเครื่อง สมเด็จ ม.ร.ว.เจริญอิศรางกูร  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู  
  • พระเครื่อง พระพุทธวิริยากร วัดสัตตนารท  
  • พระเครื่อง สมเด็จพระญานวรเถร  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อเงินวัดท้ายตลาด  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อโขติ วัดตะโน  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย


  • แนะนําเว็ปไซด์


    ประวัติหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์


    ประวัติ พระเครื่อง
    ประวัติ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์
     

    หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์

    วัดเครือวัลย์

    เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2364 " หลวงพ่อแก้ว " ท่านได้ธุดงค์ผ่านมาทางภาคตะวันออก และได้มาพักแรมอยู่ ณ สถานที่แห่งหนึ่งในตัวเมืองจังหวัดชลบุรี ซึ่งในสมัยนั้น จังหวัดชลบุรี ซึ่งสมัยนั้นจังหวัดชลบุรี ยังเป็นป่ารกชัฏด้วยป่าไม้เบญจพรรณต่างๆ มองไปทางไหนก็พบแต่ความเวิ้งว้างว่างเปล่าของน้ำทะเล สาเหตุเนื่องมาจากผลของสงคราม ในช่วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทำการกู้อิสรภาพนั่นเอง วัดวาอารามต่างๆ ที่ถูกทำลายก็ยังไม่ได้รับการฟื้นฟู ชาวบ้านที่อยู่ในถิ่นฐานนั้น ส่วนมากมีการศึกษาน้อย เพราะขาดการเหลียวแล จะเป็นด้วยวาสนาของชาวจังหวัดชลบุรีหรืออย่างไรไม่ทราบ ที่ทำให้ท่านธุดงค์ผ่านมาทางนี้ และด้วยเมตตาธรรมอันบริสุทธิ์ของท่าน ทำให้ท่านมีความคิดที่จะปลุกฝังญาติโยมในละแวกนั้น ให้เข้าถึงหลักธรรมของพระพุทธองค์ จึงปักกลดอยู่ที่นั้น เพราะความน่าเลื่อมใสของท่าน ชาวบ้านในละแวกนั้นต่างก็นำอาหารมาทำบุญ ส่วนชาวบ้านที่นิยมของขลัง เมื่อเห็นพระรุกขมูลมา และมีวัตรปฎิบัติแปลกว่าพระธุดงค์รูปอื่น เกิดความเลื่อมใส เข้าไปขอเครื่องรางของขลังกับท่าน ส่วนท่านเมื่อมีญาติโยมมาหาท่านก็เชื้อเชิญต้อนรับด้วยธัมมปฏิสันถาร เพราะท่านมีธรรมเป็นเครื่องให้ เมื่อใครเอ่ยปากขอของขลังจากท่าน ท่านก็ให้ของขลัง และของที่ให้ก็ดีจริงๆ อันประกอบไปด้วยบทคาถามหามนต์ขลัง เพราะการเดินธุดงค์ท่านจะหอบหิ้วเอาวัตถุของติดตัวมาด้วยนั้น ท่านคงหอบหิ้วไม่ไหวแน่ ท่านคงมีแต่บทคาถามหามนต์ขลัง เมื่อเขาออกปากท่านก็ให้ ตามหลักกตัญญกตเวทิตาธรรม ตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ คือให้คาถาบทภาวนา ระลึกถึงพระรัตนตรัย เมื่อญาติโยมในระแวกนั้นเกิดความเลื่อมใส ทำให้ท่านเริ่มบูรณะซากสลักหักพัง ของวัดร้างวัดหนึ่ง โดยได้รับความร่วมมือจากญาติโยมในละแวกนั้นเป็นอย่างดีจนพอใช้การได้แล้ว ท่านก็ได้ตั้งชื่อว่า " วัดเครือวัลย์ " คงถือเอานิมิตต์ที่มีเถาวัลย์ปกคลุมอยู่มากมายก็ได้ หลังจากนั้น ท่านก็ได้อบรมสั่งสอนประชาชนให้เข้าถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จนมีผู้แสดงตนเป็นอุบาสก-อุบาสิกา เข้าถึงพระรัตนตรัย ส่วนผู้ที่มีศรัทธากล้าก็เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ท่านก็อบรมสั่งสอนด้วยหลักธรรมต่างๆ ตามภูมิธรรมของบุคคลนั้นๆ

    สถานที่ตั้ง

    ฉะเชิงเทรา - ชลบุรี (มะขามหย่ง) มะขามหย่ง เมืองชลบุรี ชลบุรี

    วัดในบริเวณใกล้เคียง

    วัดกลาง วัดกำแพง วัดราษฎร์บำรุง

    ประวัติ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์

    เมื่อย้อนหลังไปเมื่อประมาณ 150 ปีก่อนนี้ ถ้ามีใครเอ่ยถึงคำว่า หลวงพ่อแก้ว คงเป็นที่น่าแปลกใจ และสงสัยไปตามๆ กันว่า ท่านเป็นใคร จำพรรษาอยู่วัดไหน มีความศักดิ์สิทธิ์เพียงใด คำถามเหล่านี้จะตั้งขึ้นมา สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักท่านมาก่อน แม้แต่บุคคลที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงกับที่ท่านจำพรรษาอยู่ แต่ในช่วงระยะเวลา 150 ปี ให้หลัง จนถึงปัจจุบัน คำว่า "หลวงพ่อแก้ว" คำนี้รู้สึกว่าจะเป็นคำที่ คุ้นหู คุ้นปาก กันมากในหมู่สาธุชนทั่วไป เพราะเมื่อเอ่ยถึงหลวงพ่อแก้วแล้วทุกคนก็ระลึกถึงคุณธรรมความดี และความขลังความศักดิ์สิทธิ์ของท่านไปต่างๆนานาถึงแม้ท่านจะล่วงลับไปเป็นเวลานานแล้วก็ตามแต่คุณงามความดี

    ความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ยังดังก้องอยู่ในโสตประสาทของสาธุชนทั้งหลาย ดุจท่านยังมีชีวิตอยู่ฉะนั้น แม้กระทั่งปัจจุบัน วัดวาอารามต่างๆ ที่ทราบถึงอภินิหารจากพระเครื่องของท่าน บางวัดหากจะสร้างพระเครื่องราง ของขลัง ยังนำชื่อของท่านไปตั้งเป็นชื่อพระเครื่องต่างๆ ดังที่เราได้รู้ได้เห็นกันมาแล้ว เช่น หลวงพ่อแก้วหลังพระ บ้าง หลวงพ่อแก้วหลังอุ บ้าง ดังนี้เป็นต้น

    แต่ที่แน่ๆ ถ้าใครเอ่ยถึง " หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ " แล้ว ชื่อเสียงกิตติศัพท์ก็เป็นที่รู้กันไปในหมู่สาธุชน ทั้งชาย-หญิง ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลก็ตาม ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ท่านมีดีอะไร และจะเป็นไปได้หรือที่พระรูปร่างสันทัดรูปหนึ่ง ซึ่งรับหน้าที่เป็นสมภารเจ้าวัด ได้ร่วมแรงร่วมใจกับญาติโยม บูรณะสถานที่ซึ่งรกชัฏไปด้วยไม้เบญจพรรณต่างๆ ให้กลายสภาพเป็นวัดจนถึงทุกวันนี้ เหตุการณ์เหล่านี้ จึงทำให้ท่านมีชื่อเสียง จนถึงกับเป็นที่รู้จัก และเคารพนับถือของสาธุชนทั่วไป โดยถึงกับวัดวาอารามต่างๆ ต้องนำชื่อของท่านไปตั้งเป็นชื่อของพระเครื่อง พร้อมกับเน้นหนักให้ญาติโยมรู้ว่า สร้างมาจาก "ผงของหลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์" จนเป็นที่รู้จักกันถึงทุกวันนี้ เหตุผลเพียงท่านี้ยังไม่พอหรอกที่จะทำให้ชื่อเสียงและคุณธรรมความดีของท่านระบือลือลั่นไปถึงขนาดนั้น แล้วอะไรเล่า ที่เป็นเกียรติประวัติและคุณความดีของท่าน แต่อยากเชิญท่านที่กำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ หรือ่านมาแล้วก็ตาม มาลองพิจารณาถึงเกล็ดประวัติย่อยๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของท่านนั้นว่า ท่านมีคุณธรรมอะไร มีความศักดิ์สิทธิ์ขนาดไหน สมควรหรือไม่ที่วัดวาอารามต่างๆ ตลอดจนสาธุชนทั้งหลายที่อยู่ใกล้หรือไกลก็ตาม ต่างยกย่องสรรเสริญ

    ชาติภูมิ



    "หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์"จากหลักฐานที่ค้นคว้าได้ หลวงพ่อแก้วท่านถือกำเนิดมาจากครอบครัวของชาวประมงค์ ทางจังหวัดเพชรบุรี เมื่อประมาณ พ.ศ.2337 เมื่อท่านมีอายุพอสมควรแล้ว บิดารมารดาของท่าน ก็ได้พาท่านไปฝากกับสมภารวัดในระแวกนั้น เพื่อให้ท่านได้มีโอกาสเล่าเรียนหนังสือ เพราะการศึกษาในสมัยนั้นยังไม่เจริญก้าวหน้า ต้องอาศัยเรียนจากวัด โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้ให้ความรู้ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้วิถีชีวิตของท่านได้เปลี่ยนเส้นทางจากชาวประมงค์ กลายมาเป็นเด็กวัด และภายหลังได้เป็นหลวงพ่อแก้วในกาลต่อมา ดังที่รู้จักกันของสาธุชนทั่วๆ ไป ถึงทุกวันนี้ ชีวิตในปฐมวัย ในระหว่างที่ท่านได้ใชัชีวิตศึกษาเล่าเรียนอยู่ในวัดนั้น ปรากฏว่าท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยแตกต่างไปจากเด็กทั่วๆไป คือ แทนที่ท่านจะเกเรหรือซุกซนตามวิสัยเด็กทั่วๆไป แต่ตรงกันข้าม ท่านกลับมีความสงบเสงี่ยมเรียบร้อย มีเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนๆ ตลอดจนสัตว์ต่างๆ ไม่ว่าสัตว์เล็กหรือสัตว์ใหญ่ที่อาศัยวัดเป็นอย่างดี ประกอบด้วยท่านเป็นผู้มีความวิริยะอุตสาหะและมีสติปัญญาอันชาญฉลาด ในการเรียนรู้วิชาการต่างๆ จนเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์ครูสอนเป็นอันมาก ความแตกต่างที่ผิดไปจากวิสัยของเด็กนี้เอง ที่ทำให้สมภารเจ้าวัด เล็งเห็นว่า ถ้าเด็กคนนี้มีโอกาสบวชอยู่ในพระพุทธศาสนาแล้ว ต่อไปภายภาคหน้าจะเป็นกำลังอันสำคัญแก่พระศาสนามิใช่น้อย ด้วยเหตุนี้เอง ท่านสมภารเจ้าวัดจึงจัดแจงให้เด็กชายแก้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรแก้ว ตั้งแต่นั้นมา

    การบรรพชาอุปสมบท

    เมื่อท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย จนมีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดี ครั้นเมื่อมีอายุครบบวชแล้ว ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา อาศัยที่ท่านมีความเพียร ความอดทนเป็นที่ตั้งอยู่แล้ว ท่านจึงมีความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าคำสอนในพระพุทธศาสนาให้แตกฉานยิ่งขึ้น จึงได้เข้ามาศึกษาบาลีไวยากรณ์ ซึ่งตามภาษาโบราณ เรียกกันว่า เรียนหนังสือใหญ่ ที่กรุงเทพฯ จนมีความรู้ความสามารถ เป็นอย่างยิ่ง

    การเผยแพร่พระศาสนา

    เมื่อท่านได้ศึกษาพระพุทธวจนะตามพระบาลี จนมีความรู้ความเข้าใจดีแล้ว อาศัยความที่ท่านเป็นผู้มีคุณธรรมสูง มาตั้งแต่วัยเด็ก ประกอบกับท่านได้ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ของพระพุทธเจ้าอย่างขว้างขวาง เมื่อมีวิชาความรู้พอที่จะแนะนำสั่งสอนผู้อื่นได้แล้ว ท่านจึงตั้งใจจะจาริกแสวงบุญ โดยเผยแพร่พระพุทธวจนะ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข และเพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลกเป็นอันมาก เพื่อแบ่งส่วนกุศล ความรู้ ให้แก่ผู้ที่สนใจหลักธรรม ในพระพุทธศาสนา ในสมัยนั้นตรงกับรัชกาลที่สอง

    ซึ่งวงการศาสนากำลังก้าวสู่ความเสื่อม ประกอบกับลัทธิศาสนาของประเทศทางฝ่ายตะวันตก ได้เข้ามาเผยแพร่วัฒนธรรมทางศาสนาอย่างมากมาย เพื่อที่จะปลูกฝังให้คนไทยลืมสัจจธรรมอันแท้จริงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การทำครั้งนั้นนับว่ามีอิทธิพลมากต่อสภาพบ้านเมืองของเราในขณะนั้น เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น ถ้าหากว่า ทางบ้านเมืองหรือในวงการพระศาสนาไม่มีการตื่นตัวแล้วไซร้ ศาสนาพุทธในประเทศไทย ก็คงถูกกลืนหายไปในเวลานั้นเป็นแน่ "หลวงพ่อแก้ว" ในฐานะที่ ท่านมีความเมตตากรุณาเป็นที่ตั้ง ซึ่งเราก็ได้ทราบกันดีมาแล้ว ท่านจึงตกลงใจในอันที่จะออกประกาศสัจจธรรมแก่ชาวโลก ประกอบกับท่านมีความประสงค์ที่จะท่องเที่ยวโดยการเดินธุดงค์ เพื่อแสวงหาความวิเวกทางกายและใจ ดังนั้น ท่านจึงเริ่มต้นธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ขึ้นเหนือบ้าง ลงใต้บ้าง โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้น ท่านต้องเผชิญกับความลำบากต่างๆ ถึงแม้ท่านจะต้องต่อสู้กับความหนาวเย็นของอากาศ สภาพแวดล้อมของธรรมชาติ ตลอดจนการกระทำ และความคิดเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อ มีจิตใจเด็ดเดี่ยว พร้อมเสมอที่จะเผชิญต่ออุปสรรคต่างๆ โดยท่านคิดว่า อุปสรรคต่างๆ เป็นเครื่องพิสูจน์กำลังใจว่าจะท้อถอยหรือไม่ ท่านอาศัยความเมตตา กรุณา ที่ท่านเจริญเป็นนิตย์ กับทั้งท่านมีหลักธรรมของพระพุทธองค์เป็นอาวุธ คือธรรมาวุธ พร้อมที่จะฟันฝ่าต่ออุปสรรคทั้งหลาย ให้ลุล่วงไปด้วยดีตลอดมา

    คุณธรรมหลวงพ่อแก้ว

    หลวงพ่อแก้ว ท่านเป็นพระที่มีคุณธรรมสูง มีคุณธรรมเป็นเวทย์มนต์ คาถาขลังและศักดิ์สิทธิ์ ท่านตั้งอยู่ในพรหมวิหารธรรม มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นภาคพื้นในจิตใจของท่าน จิตใจของท่านเปี่ยมไปด้วยความรัก และความสงสารในสัตว์โลก พลอยยินดีด้วยเมื่อเห็นเขาได้ดี และวางใจเป็นกลาง ไม่ดีใจและไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ อาศัยความที่ท่านเป็นผู้ที่มีเมตตาจิตสูงเช่นนี้ ท่านจึงชอบสร้างพระเป็นรูปพระปิดตา เพราะพระปิดตาแบบนี้เป็นสัญญาลักษณ์แห่งการไม่ดูไม่มองอะไร คือไม่เพ่งโทษ และหาโทษผู้อื่น ตั้งความเมตตาและกรุณา เที่ยงตรงต่อมนุษย์และสัตว์อื่นเสมอกันหมด ดุจดังพื้นแผ่นดินที่มั่นคง ไม่ยินดียินร้ายในของหอมและของเหม็นที่พวกมนุษย์ทิ้งลงแผ่นดิน ฉะนั้นหลวงพ่อแก้ว ท่านวางจิตเป็นกลาง ไม่รักคนนี้ เกลียดคนนั้น หรือชังคนโน้น ไม่ปรารถนาให้ใครเดือดร้อนเพราะท่าน ท่านถือหลักว่า ใครใคร่ลาภ จงได้ลาภ ใครใคร่บุญ จงได้บุญ ดังนี้

    วิธีสร้างผงของหลวงพ่อแก้ว

    การสร้างพระปิดตาหลวงพ่อแก้วนั้น ก็ไม่มีอะไรมากนัก โดยปกติแล้ว หลวงพ่อแก้ว ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยละเอียดรอบคอบเป็นปกติ ท่านเป็นผู้เห็นการณ์ไกล คือ ในขณะที่ท่านสอนบาลีไวยากรณ์อยู่นั้น ท่านก็ได้เก็บเอาผงที่ลบจากอักขระเอาไว้ เพราะการสอนหนังสือในสมัยนั้นจะต้องเขียนต้องลบตัวอักขระบนกระดานดำจริงๆ และนิยมกันว่า ผงอักขระที่ลบจากการเรียนภาษาบาลี ซึ่งเขียนเป็นอักษรขอมที่มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ แล้วท่านก็จะนำมาผสมกับผงพระพุทธคุณ หรือผงมหาราช เป็นต้น เมื่อเอาผงดินสอ และผงพุทธคุณรวมกันเข้าแล้ว ท่านก็เอาเกษรดอกไม้ต่างๆ ใบไม้ เปลือกไม้ และเนื้อไม้ มาบดให้ละเอียดเป็นผง แล้วจึงนำมาผสมกับผงอักขระ เอาน้ำข้าวมาคละเคล้าเข้ากับผง เพื่อทำให้เหนียว จนได้หล่อเป็นรูปพระ การผสมผงเพื่อสร้างเป็นรูปพระหลวงพ่อแก้วนั้น ท่านเอาผงคุณพระกับผงดินสอที่ท่านเขียนอักขระบนกระดานดำ เอาผงทั้งสองอย่างนั้นมาผสมกันเข้าไว้ แล้วเอาใบไม้ ที่เรียกกันว่า ใบไม้รู้นอนต่างชนิด เช่น ยอดสวาท เป็นต้น

    เอาเกษรดอกไม้บ้าง มาบดเป็นผงให้ละเอียด ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันด้วยดีแล้ว จึงเอาน้ำข้าวเหนียวมาผสมทำให้เหนียว จึงเอากดลงในแม่พิมพ์ ก็สำเร็จเป็นองค์พระ อนึ่ง ชีวประวัติของหลวงพ่อแก้ว อดีตเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรีนี้ อาจจะไม่ตรงกับที่ท่านได้ยินได้ฟังมา เพราะประวัติของท่านอาจมีผู้จำมาคลาดเคลื่อน ซึ่งมีความผิดแปลกกันไปต่างๆ ตามที่ตนเข้าใจ

    วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

    วัตถุมงคลที่ท่านได้สร้างขึ้นและได้รับความนิยมในหมู่นักเลงพระได้แก่

    - พระปิดตา พิมพ์ใหญ่หลังแบบ

    - พระปิดตาพิมพ์ใหญ่หลังเรียบ

    - พระปิดตาพิมพ์กลาง

    - พระปิดตาพิมพ์เล็ก

    - พระพิมพ์ลอยองค์

    พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

    พุทธคุณที่ได้เล่าขานกันสืบทอดกันมาเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่ท่านสร้าง ก็ได้แก่ ทางด้านเมตตามหานิยม



    ข้อมูลจากเว็ป   http://p.moohin.com/001.shtml