บทความ พระเครื่อง
 
  • พระเครื่อง พระสมเด็จ วัดระฆัง  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้  
  • พระเครื่อง พระ หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิศวรวิหาร  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อช้าง วัดเขียนเขต  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ศุข  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อเงิน  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อซัง  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม  
  • พระเครื่อง กรมหลวงวชิรญานวงค์ วัดบวรฯ  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อเขียน วัดสำนักขุนเณร  
  • พระเครื่อง พระอธิการชู วัดนาคปรก  
  • พระเครื่อง หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์  
  • พระเครื่อง พระ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ  
  • พระเครื่อง พระ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อแฉ่ง วัดศรีรัตนาราม  
  • พระเครื่อง พระธรรมวโรดม วัดพระปฐมเจดีย์  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อกกล่อม วัดโพธาวาส  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อเกษม เขมโก  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อก๋ง วัดเขาสมอคอน  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม  
  • พระเครื่อง พระอุปัชฌากรัก วัดอัมพวัน  
  • พระเครื่อง พระครูนิสิตคุณากร (กัน)  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่เขียว วัดหรงบล  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ไข่ วัดบางเลน  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อซัง  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อซัง  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่แก้ว วัดช่องลม  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อเกิด วัดบางเดื่อ  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อคง วัดซำป่างาม  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อครน วัดบางแซะ  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อกึ๋น วัดดอน  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน  
  • พระเครื่อง พระสังวรานุวงค์เถร(ชุ่ม) (พลับ)  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อเชิด วัดลาดบัวขาว  
  • พระเครื่อง พระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ วัดปากสะ  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ช่วง วัดบางแพรกใต้  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อขำ วัดปราสาทนิกร  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ขำ วัดแก้ว  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ขาว วัดหลักสี่  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ขาว วัดถ้อกองเพล  
  • พระเครื่อง พระกรมหลวงชินวร สิริวัฒน์  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่ชอบ วัดป่าสัมมนานุสรณ์  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม  
  • พระเครื่อง พระญานไตรโลก(ฉาย)  
  • พระเครื่อง พระ หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม  
  • พระเครื่อง พระอุปัชฌาเข็ม วัดม่วง  
  • พระเครื่อง พระสมุห์ขิง วัดกลาง  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่จัน วัดโมลี  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่จีน วัดท่าลาด  
  • พระเครื่อง พระพระอุบาลีคุณูปมาจารย  
  • พระเครื่อง พระหลวงพ่อเงิน วัดอินทรวิหาร  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่เจียม วัดกำแพง  
  • พระเครื่อง สมเด็จ ม.ร.ว.เจริญอิศรางกูร  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ  
  • พระเครื่อง พระหลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู  
  • พระเครื่อง พระพุทธวิริยากร วัดสัตตนารท  
  • พระเครื่อง สมเด็จพระญานวรเถร  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อเงินวัดท้ายตลาด  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อโขติ วัดตะโน  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง  
  • พระเครื่อง พระ หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย


  • แนะนําเว็ปไซด์



    หลวงพ่อเกษม ,หลวงพ่อเกษม ,หลวงพ่อเกษม,หลวงพ่อเกษม,หลวงพ่อเกษม
    ประวัติหลวงพ่อแฉ่ง ศิลปัญญา วัดศรีรัตนาราม (บางพัง) อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี


    ประวัติ พระเครื่อง
    ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง
     

    ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง

    หลวงพ่อเกษม เขมโก เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 บิดาชื่อ เจ้าหนูน้อย มณีอรุณ มารดาชื่อ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ในวัยเด็ก เจ้าเกษม ณ ลำปาง จัดว่าเป็นคนมีสติปัญญาดีเยี่ยมและเป็นเด็กที่ซุกซนมาก เมื่อย่างเข้าสู่วัยเรียน เจ้าเกษม ณ ลำปาง เข้ารับการศึกษาระดับประถมที่ โรงเรียนบุญวงศ์ อนุกูล โรงเรียนประจำ อ.เมือง จ.ลำปาง สมัยนั้นเรียนชั้นสูงสุดแค่ชั้นประถมปีที่ 5 ปี พ.ศ.2466

    เจ้าเกษม ณ ลำปาง จบชั้นสูงของโรงเรียนประถมปีที่ 5 ขณะอายุได้ 11 ปี ต่อมาในปี พ.ศ.2470 ครั้นมีอายุ 15 ปี ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบุญยืน จ.ลำปาง เมื่อบรรพชาแล้วก็จำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดบุญยืน ขยันหมั่นเพียรเรียนทางด้านปริยัติศึกษาธรรมะจนถึงปี พ.ศ.2474 สามเณรเจ้าเกษมก็สามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้

    กระทั่งในปี พ.ศ.2475 สามเณรเกษม ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดบุญยืนนั่นเอง โดยมี พระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร เจ้าคณะอำเภอขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอุตรวงศ์ธาดา เจ้าอาวาสวัดหมื่นเทศ และเจ้าคณะอำเภอเมือง จ.ลำปาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดป่าตั๊ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “เขมโก” แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม

    ในปี พ.ศ.2479 พระภิกษุเขมโก ก็สามารถสอบนักธรรมชั้นเอกได้รวมทั้งสนใจศึกษาเล่าเรียนบาลีควบคู่กันไปด้วย เรียนรู้จนสามารถเขียนและแปลภาษามคธได้เป็นอย่างดี เมื่อเรียนปริยัติพอควรแล้ว สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยไม่หลงทาง ท่านจึงหันมาปฏิบัติธรรมจนแตกฉาน โดยเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้ และเชี่ยวชาญ ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของ ครูบาแก่น สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่อง โดยได้ติดตามพระอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนาเรื่อยมา ท่านถือปฏิบัติเช่นนี้จนภายหลังได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน เมื่อปี พ.ศ.2492 ก็ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส ปลีกวิเวกไปบำเพ็ญเพียรอยู่ตามป่าช้าต่าง ๆ ทั่ว จ.ลำปาง หลายแห่ง เช่น ป่าช้าแม่อาง ป่าช้านาป้อ ก่อนมาปักหลักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ป่าช้าประตูม้า หรือสุสานไตรลักษณ์ ปัจจุบัน จนละสังขารเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2539 รวมสิริอายุ 84 ปี

    หลวงพ่อเกษม เขมโก นับได้ว่าเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สมควรได้รับความเคารพศรัทธาจากประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ ในช่วงท่านบำเพ็ญเพียรอยู่ ณ สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง มักมีประชาชนและญาติโยมไปกราบนมัสการมากมายทุกวันมิได้ขาด แม้ท่านละสังขารไปนานพอสมควรแล้ว ก็ยังมีประชาชนแวะเวียนไปกราบไว้สังขารท่าน ณ สุสานไตรลักษณ์จนทุกวันนี้

    ศิษย์คนสนิทรำลึกถึงหลวงพ่อ

    ร.ต.ต.สมาน บัวสมบัติ นายตำรวจฝีมือดีในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่เพื่อนเคยแนะนำให้ไปถวายตัวเป็นลูก “หลวงพ่อเกษม เขมโก” แห่งสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง เมื่อปี พ.ศ.2534 เมื่อมีโอกาสได้อยู่ใกล้ชิดและได้เห็นจริยวัตร ตลอดจนการปฏิบัติธรรมอันบริสุทธิ์ของหลวงพ่อนานเข้า ทุกเดือนนายตำรวจผู้นี้จะต้องขับรถไปรับใช้หลวงพ่อเกษม 2-3 ครั้งเสมอมิได้ขาด

    เขาเล่าว่า เมื่อใกล้เทศกาลสงกรานต์ประมาณปี พ.ศ.2535 หลวงพ่อเกษมเอ่ยปากกับ ร.ต.ต.สมาน ขณะนั้นยังเป็น “นายดาบ” เพื่อนๆ มักนิยมเรียกว่า “ดาบหมาน” ว่า “ไม่เคยอาบน้ำมายี่สิบปีแล้ว” “ดาบหมาน” จึงอาสาหลวงพ่อว่า “ผมขออาบน้ำให้หลวงพ่อได้ไหม” หลวงพ่อถามว่าจะอาบอย่างไร ดาบหมานก็อธิบายว่า จะใช้กะละมังมารองน้ำแล้วก็อาบให้หลวงพ่อ หลวงพ่อจึงตกลงให้ “ดาบหมาน” อาบน้ำให้ท่านได้ นั่นเป็น ครั้งแรกและคนแรกในยี่สิบปี ที่มีโอกาสได้สัมผัสสังขารพระอริยสงฆ์แห่งเขลางค์นคร “ดาบหมาน” เล่าว่า ร่างกายของท่านไม่มีกลิ่นอะไรเลย เลยสะอาดผุดผ่อง จากนั้นมาทุกครั้งที่ “ดาบหมาน” ขับรถไปกราบนมัสการและรับใช้หลวงพ่อ ท่านก็มักจะให้ “ดาบหมาน” อาบน้ำให้เสมอ และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึง “อภิญญา” แห่งพระอริยสงฆ์ของท่าน สามารถ ล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า พอดาบหมานจอดรถปั้บ หลวงพ่อก็จะบอกกับผู้ดูแลท่านว่า “เตรียมอาบน้ำได้แล้ว” ทั้งๆ ที่ยังนั่งอยู่ในห้อง มองออกมาไม่เห็นข้างนอกด้วยซ้ำไป

    แสดงอภินิหาร-ให้โชคลาภร่ำรวย

    วันหนึ่งประมาณเก้าโมงเช้า เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง และเพื่อนเจ้าของโรงงานน้ำปลาโพธาราม ได้เอารถเบนซ์ รุ่น 500 เอสอีแอล ไปรับหลวงพ่อเกษมออกเดินทางจากสุสานไตรลักษณ์เพื่อไปทำบุญที่บ้านเจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง เมื่อเสร็จธุระต่าง ๆ แล้ว หลวงพ่อจะกลับสุสานไตรลักษณ์ แต่ท่านไม่ยอมขึ้นรถเจ้าประเวทย์และเพื่อนท่านบอกว่า จะนั่งรถ “ดาบหมาน” กลับ ทุกคนก็แปลกใจเพราะ “ดาบหมาน” ไม่ได้มาด้วย จึงโทรศัพท์ตามหาตัวให้มารับ ดาบหมานจึงขับรถฮอนด้าซีวิค ทะเบียน ฉ.9723 กรุงเทพฯ มารับหลวงพ่อเกษมที่บ้านเจ้าประเวทย์กลับสุสานไตรลักษณ์ทันที

    “ดาบหมาน” เล่าว่า เมื่อหลวงพ่อเกษมนั่งบนรถ ท่านหลับตาภาวนาตลอดทางจนถึงสุสานไตรลักษณ์ ก่อนลงรถ ท่านเอามือล้วงถุงขนมปังที่พกติดตัวมา หยิบขนมปังเต็มกำมือ ยกขึ้นภาวนาสักครู่แล้วถาม “ดาบหมาน” ว่า “มีตำรวจ–ทหารมาคอยอยู่กี่คน” ไม่ทันที่ดาบหมานจะตอบ ท่านพูดต่อว่า “เอาขนมปังนี่แจกทหาร 4 อัน แจกชาวบ้าน 3 อัน แจกเด็ก 2 อัน” ดาบหมานก็รับขนมปังจากหลวงพ่อเกษมไปแจกตามที่หลวงพ่อบอก

    หลังจากแจกขนมปังเสร็จ พาหลวงพ่อเข้าที่พักแล้ว แม่ค้าขายของเข้ามาถามว่า “หลวงพ่อให้ขนมปังกี่อัน” ดาบหมานตอบว่า ท่านให้ ทหาร 4 อัน ชาวบ้าน 3 อัน เด็ก 2 อัน แม่ค้าบอกดาบหมานว่า หลวงพ่อให้หวย ดาบหมานจึงแทงหวย 3 ตัวบนงวดนั้นเลข “432”ออกมาตรง ๆ ได้เงิน 900,000 บาท จึงนำเงินถวายหลวงพ่อ 100,000 บาท ที่เหลือดาบหมานแจกลูกศิษย์ที่ดูแลท่าน จำนวน 11 คน คนละ 10,000 บ้าง 20,000 บ้าง ทั่วทุกคนเป็นที่ฮือฮากันในสุสานไตรลักษณ์

    ดาบหมานเล่าว่า เขาถูกหวยจากเลขหลวงพ่อเกษมหลายครั้ง รวมหลายล้านบาท ก่อนหลวงพ่อเกษมมรณภาพ 15 วัน หลวงพ่อเกษมบอกปริศนาแก่ “ดาบหมาน” เขาแทงเลข “519” ถูกอีก นับล้าน งวดนั้นได้เอาเงินที่ถูกหวยมาแจกลูกศิษย์หลวงพ่อ แถมด้วยแจกแม่ค้า-พ่อค้าบริเวณสุสานไตรลักษณ์แทบทุกคน จนเป็นที่เล่าลือกันมากในยุคนั้น

    วัตถุมงคลของหลวงพ่อที่ได้รับความนิยม (ขอบคุณภาพสวย ๆ จาก "ลานโพธิ์")



    ข้อมูลจากเว็ป   http://sites.google.com/site/patihan2009/hlwng-phx-kesm-khem-ko-phra-xriy-sngkh-haeng-lan-na